Category Archives: ภาษาไทยม.ปลาย
วิชาหลักภาษาไทย ม.6
โอเน็ตภาษาไทย ข้อ 21-30 ค่ะ
๒๑. ข้อความต่อไปนี้มีบุพบทและสันธานกี่คำ
คนไทยสมัยโลกาภิวัตน์ได้เปรียบคนไทยรุ่นก่อนในด้านที่มีความรู้กว้างขวาง
เพราะสามารถแสวงหาความรู้ได้จากแหล่งต่างๆทั้งหนังสือวิทยุโทรทัศน์และ
คอมพิวเตอร์
๑. บุพบท๑คำสันธาน๓คำ
๒. บุพบท๒คำสันธาน๓คำ
๓. บุพบท๑คำสันธาน๔คำ
๔. บุพบท๒คำสันธาน๔คำ
เฉลยข้อ 2
เหตุผล ข้อ 2 บุพบท 2 คำ ได้แก่ ใน, จาก
สันธาน 3 คำ ได้แก่ เพราะ, ทั้ง, และ
๒๒. ข้อความต่อไปนี้มีคำนามและคำกริยาหลักอย่างละกี่คำ (ไม่นับคำซ้ำ)
การกู้ยืมจะมีประโยชน์ต่อเมื่อเงินที่กู้มานั้นใช้อย่างมีคุณภาพและสร้างรายได้
เพื่อเพิ่มต้นทุนของเงินจำนวนนั้น
๑. นาม๔คำกริยา๓คำ
๒. นาม๕คำกริยา๔คำ
๓. นาม๖คำกริยา๕คำ
๔. นาม๗คำกริยา๖คำ
เฉลยข้อ 3
เหตุผล ข้อ 3 คำนาม 6 คำ ได้แก่ การกู้ยืม, ประโยชน์, เงิน, คุณภาพ, รายได้,
ต้นทุน คำกริยา 5 คำ ได้แก่ มี, กู้, ใช้, สร้าง, เพิ่ม
๒๓. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
๑. เครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกคือเครื่องปั้นดินเผา
ที่บ้านเชียง
๒. เครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียงส่วนใหญ่เป็นหม้อลายเขียนสีรูปวงกลมม้วนคล้าย
ลายก้นหอย
๓. หลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่าบ้านเชียงเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๔. คณะกรรมการมรดกโลกประกาศให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลก
เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕
เฉลยข้อ 2
เหตุผล ข้อ 2 เป็นประโยคความเดียวเพราะมีคำกริยาตัวเดียวและไม่มีประโยคอื่นมาขยาย
ข้อ 1 เป็นประโยคความซ้อน มี “ที่” เป็นคำเชื่อมอนุประโยค
ข้อ 3 เป็นประโยคความซ้อน มี “ว่า” เป็นคำเชื่อมอนุประโยค
ข้อ 4 เป็นประโยคความซ้อน มี “ให้” เป็นคำเชื่อมอนุประโยค
๒๔. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
๑. คนไทยนิยมทำอาหารตามฤดูกาลซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติ
๒. ปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้คนเป็นไข้หวัด
๓. เย็นนี้แม่บ้านจะทำแกงส้มดอกแคและผัดผักรวม
๔. เชื่อกันว่าการรับประทานแกงร้อนๆจะช่วยแก้ไข้หวัดในระยะเปลี่ยนฤดูได้
เฉลยข้อ 3
เหตุผล ข้อ 3 เป็นประโยคความรวมมีคำเชื่อม และ เชื่อม 2 ประโยค
ข้อ 1 เป็นประโยคความซ้อน มี “ซึ่ง” เป็นคำเชื่อมอนุประโยค
ข้อ 2 เป็นประโยคความซ้อน มี “ที่” เป็นคำเชื่อมอนุประโยค
ข้อ 4 เป็นประโยคความซ้อน มี “ว่า” เป็นคำเชื่อมอนุประโยค
๒๕. ข้อใดไม่ใช่ประโยค
๑. การดำเนินงานธุรกิจหรือการประกอบอาชีพต้องมีความพอเพียง
๒. เศรษฐกิจพอเพียงมิได้จำกัดเฉพาะเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเท่านั้น
๓. เกษตรทฤษฎีใหม่เป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้นให้เกษตรกรสามารถดูแลตัวเองได้
๔. การบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ทำให้คนสามารถดูแลตัวเองให้อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน
เฉลยข้อ 4
เหตุผล ข้อ 4 มีแต่ส่วนประธานและส่วนขยายประธาน ยังไม่มีกริยาหลักจึงเป็น
ประโยคไม่ได้
ข้อ 1, 2 เป็นประโยค มีประธาน กริยา กรรม
ข้อ 3 เป็นประโยค มีประธาน กริยา ส่วนเติมเต็ม
๒๖. ข้อใดมีน้ำเสียงเชิงตำหนิ
๑. ผู้จัดการบริษัทนำเที่ยวบริหารงานจนใครๆยกนิ้วให้
๒. ชาวบ้านรู้ตื้นลึกหนาบางเป็นอย่างดีว่าเขาร่ำรวยเพราะอะไร
๓. ไม่ว่าแม่จะถามความเห็นกี่ครั้งลูกสาวก็ยังยืนคำเหมือนเดิม
๔. เวลาจะไปพักผ่อนต่างจังหวัดคุณแม่ก็จัดแจงจองที่พักล่วงหน้า
เฉลยข้อ 2
เหตุผล ข้อ 2 มีน้ำเสียงเชิงตำหนิว่าอาจจะไม่ซื่อสัตย์
ข้อ 1 มีน้ำเสียงชื่นชม
ข้อ 3, 4 มีน้ำเสียงปรกติ
๒๗. คำทุกคำในข้อใดใช้ได้ทั้งความหมายตามตัวและความหมายเชิงอุปมา
๑. ปีนเกลียวปิดฉากถูกขา
๒. ปิดตาเฝ้าไข้เปลี่ยนมือ
๓. วางใจเป่าปี่แก้เคล็ด
๔. ปั่นหัวกินตะเกียบลงคอ
เฉลยข้อ 1
เหตุผล ข้อ 1 “ปีนเกลียว” ความหมายตามตัว = เกลียวไม่สบกัน, เกลียวไม่ลงตามร่อง
ความหมายเชิงอุปมา = มีความเห็นไม่ลงรอยกัน “ปิดฉาก” ความหมายตามตัว =
รูดม่านปิดเมื่อละครจบ ความหมายเชิงอุปมา = เลิก, หยุด, ยุติ เช่น ปิดฉากชีวิต
แปลว่า ตาย “ถูกขา” ความหมายตามตัว = สัมผัสขา, โดนขา ความหมายเชิงอุปมา =
เข้ากันได้
ข้อ 2 “ปิดตา”, “เปลี่ยนมือ” มีความหมายตามตัวและความหมายเชิงอุปมา “เฝ้าไข้”
มีความหมายตามตัวได้อย่างเดียว
ข้อ 3 “เป่าปี่”, “แก้เคล็ด” มีความหมายตามตัวและความหมายเชิงอุปมา “วางใจ”
มีความหมายเชิงอุปมาได้อย่างเดียว
ข้อ 4 “ปั่นหัว”, “ลงคอ” มีความหมายตามตัวและมีความหมายเชิงอุปมา
“กินตะเกียบ” มีความหมายเชิงอุปมาได้อย่างเดียว
๒๘. ข้อใดใช้คำถูกต้อง
๑. เธอได้รับคำชมว่าทำงานเก่งมากจนใครๆยกมือให้
๒. การแสดงดนตรีกว่าจะยกเลิกก็เกือบสองทุ่ม
๓. ผู้มีรายได้ต่ำได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
๔. ผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดีจะได้รับการยกโทษลงครึ่งหนึ่ง
เฉลยข้อ 3
เหตุผล ข้อ 1 “ยกมือ” คำที่ถูกต้องคือ ยกนิ้ว
ข้อ 2 “ยกเลิก” คำที่ถูกต้องคือ เลิก
ข้อ 4 “ยกโทษ” คำที่ถูกต้องคือ ลดโทษ
๒๙. ข้อใดใช้คำฟุ่มเฟือย
๑. ทหารในขบวนสวนสนามเดินอกผายไหล่ผึ่ง
๒. คุณยายขอให้ฉันกับญาติที่บุกรุกที่ดินเลิกแล้วต่อกัน
๓. ฉันต้องทนฟังเขาชี้แจงเหตุผลแม้จะไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
๔. พ่อแม่ชื่นชมปีติยินดีที่ลูกสาวสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
เฉลยข้อ 4
เหตุผล ข้อ 4 พ่อแม่ชื่นชม, พ่อแม่ปีติ, พ่อแม่ยินดี เลือกใช้เพียงคำใดคำหนึ่ง
ข้อ 1 “อกผายไหล่ผึ่ง” เป็นการใช้คำซ้อน ไม่ฟุ่มเฟือย
ข้อ 2 “บุกรุก” เป็นการใช้คำซ้อน ไม่ฟุ่มเฟือย
ข้อ 3 “ส่วนได้ส่วนเสีย” เป็นการใช้คำซ้อน ไม่ฟุ่มเฟือย
๓๐. ข้อใดใช้ภาษากำกวม
๑. เด็กข้างบ้านวิ่งชนฉันหกล้มปากแตก
๒. คนขับรถถูกสั่งพักงานฐานละเลยหน้าที่
๓. ก๋วยเตี๋ยวปลาแบบโบราณในซอยนี้มีหลายร้าน
๔. พวงมาลัยแบบนี้แม่ค้าขายฉันพวงละ๑๐บาท
เฉลยข้อ 1
เหตุผล ข้อ 1 เด็กข้างบ้านวิ่งชนฉันหกล้มปากแตก ไม่รู้ใครหกล้มปากแตก (ฉัน
หรือ เด็ก)
ข้อ 2, 3, 4 ชัดเจน ไม่กำกวม
เฉลยข้อสอบ O-net ภาษาไทย ม.6 อย่างละเอียด
ใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๑ – ๕
๖. คำในข้อใดมีตัวสะกดมาตราเดียวกับ“เหตุผล” ทุกคำ
๑. พุดตานถอดถอนมลพิษ ๒. มดเท็จคิดสั้นจัดการ
๓. ผลัดเวรบทกลอนโทษทัณฑ์ ๔. สวดมนต์จุดอ่อนทรัพย์สิน
เฉลย ข้อ ๓
เนื่องจาก “เหตุผล” มีตัวสะกดมาตราแม่ กด และแม่ กน ตามลำดับ
ข้อ ๑ คำว่า มลพิษ ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กน และแม่กด
ข้อ ๒ คำว่า มดเท็จ ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กดทั้งสองพยางค์
ข้อ ๔ คำว่า ทรัพย์สิน ไม่ใช่ เพราะสะกดด้วยแม่ กบ และแม่กน
๗. คำซ้ำในข้อใดต้องใช้เป็นคำซ้ำเสมอ
๑. คนงานใหม่ขยันเป็นพักๆเอาแน่ไม่ได้
๒. นักเรียนอนุบาลหกล้มหัวเข่าแตกเลือดไหลซิบๆ
๓. งานนี้ถึงจะได้เงินเดือนน้อยก็ทำไปพลางๆก่อนแล้วกัน
๔. ถ้าเราวางแผนให้ดีตั้งแต่แรกๆโครงการนี้ก็คงสำเร็จไปแล้ว
เฉลย ข้อ ๑
เหตุเพราะว่า หากไม่ใช่เป็นคำซ้ำ จะไม่ได้ความหมาย หรือ ความหมายอาจเปลี่ยนไปก็ได้ วิธีการคิดคือ ให้ลองอ่านและพิจารณาเอาเครื่องหมายไม้ยมกออกดูว่าได้ความหมายหรือไม่ หรือความหมายเปลี่ยนไปหรือไม่
๘. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
๑. ซ้ำซ้อน ซ่อนรูป ซักฟอก ๒. ถ่องแท้ ถี่ถ้วน ถากถาง
๓. บีบคั้น เบียดเบียน เบาความ ๔. แปรผัน เป่าหู โปรยปราย
เฉลย ข้อ ๒
ข้อ ๑ คำว่า “ซ่อนรูป” เป็นคำประสม
ข้อ ๓ คำว่า “เบาความ” เป็นคำประสม
ข้อ ๔ คำว่า “เป่าหู” เป็นคำประสม
๙. ข้อความต่อไปนี้ส่วนใดมีคำประสมทั้ง ๒ ส่วน
๑) บริเวณสวนกว้างขวาง / ๒) มีสนามที่ได้รับการดูแลจากเทศบาลเมือง /
๓) มีประติมากรรมเป็นรูปเทพธิดาแสนงาม / ๔) มุมหนึ่งมีนาฬิกาแดดคอย
บอกเวลา
๑. ส่วนที่ ๑ และ ๔ ๒. ส่วนที่ ๒ และ ๓
๓. ส่วนที่ ๑ และ ๓ ๔. ส่วนที่ ๒ และ ๔
เฉลย ข้อ ๔
ส่วนที่ ๒ คำประสม คือคำว่า “เทศบาลเมือง”
ส่วนที่ ๔ คำประสมคือคำว่า “นาฬิกาแดด”
๑๐. ข้อใดมีคำประสมทุกคำ
๑. คำขาด คำคม คำราม ๒. เดินแต้ม เดินรถ เดินสะพัด
๓. น้ำป่า น้ำไหล น้ำมือ ๔. ติดลม ติดใจ ติดขัด
เฉลย ข้อ ๒
ข้อ ๑ คำว่า “คำราม” เป็น คำมูล
ข้อ ๓ คำว่า “น้ำไหล” เป็น กลุ่มคำ
ข้อ ๔ คำว่า “ติดขัด” เป็น คำซ้อน
๑๑. ข้อใดไม่มีคำสมาส
๒. หนึ่งชื่อราชโยธา เทพซ้าย
๓. ตำแหน่งศักดิ์ยศถา เสถียรที่
๔. คุมพยุหยาตราย้าย ย่างเข้าตามสถาน
เฉลยข้อ 3
เหตุผล ข้อ 3 ไม่มีคำสมาส คำว่า “ศักดิ์ยศถา” ดูคล้ายคำสมาส แต่ไม่ใช่ เป็นการเรียงคำ
เท่านั้น
ข้อ 1 “โยธามาตย์” เป็นคำสมาส
ข้อ 2 “ราชโยธา” เป็นคำสมาส
ข้อ 4 “พยุหยาตรา” เป็นคำสมาส
๑๒. ข้อใดมีคำสมาสที่มีการสร้างคำต่างกับข้ออื่น
๑. ขับคเชนทร์สาวก้าว ส่ายเสื้องเทาทาง
๒. สถานที่พุทธบาทสร้าง สืบไว้แสวงบุญ
๓. สุธารสรับพระเต้า เครื่องต้นไปตาม
๔. โดยเสด็จดำเนินแคล้ว คลาดคล้อยบทจร
เฉลยข้อ 1
เหตุผล ข้อ 1 คำว่า “คเชนทร์” เป็นคำสมาสแบบมีสนธิซึ่งต่างกับข้ออื่น
ข้อ 2 “พุทธบาท” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ
ข้อ 3 “สุธารส” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ
ข้อ 4 “บทจร” เป็นคำสมาสแบบไม่มีสนธิ
๑๓. ข้อใดสะกดถูกทุกคำ
๑. เขากินอาหารมังสวิรัตทุกวันพุธมาสามปีแล้ว
๒. ที่ปากทางเข้าหมู่บ้านมียามรักษาการอยู่ตลอดเวลา
๓. คนที่ซื้อทองรูปพรรณต้องจ่ายเงินค่ากำเหน็จด้วย
๔. เพื่อนเห็นเขานั่งหลับจึงถามว่าเข้าฌานถึงชั้นไหนแล้ว
เฉลยข้อ 3
เหตุผล ข้อ 3 คำว่า “กำเหน็จ” สะกดถูกต้อง หมายถึง ค่าจ้างทำเครื่องเงินหรือทองรูปพรรณ
ข้อ 1 คำว่า “มังสวิรัต” สะกดผิด ที่ถูกคือ “มังสวิรัติ” เพราะ วิรัติ หมายถึงงดเว้น,เลิก
ข้อ 2 คำว่า “รักษาการ” สะกดผิด ที่ถูกคือ “รักษาการณ์” หมายถึง เฝ้าดูแลเหตุการณ์
ข้อ 4 คำว่า “เข้าฌาณ” สะกดผิด ที่ถูกคือ “เข้าฌาน” ฌาน หมายถึงภาวะที่จิตสงบแน่วแน่
๑๔. ข้อใดมีคำสะกดผิด
๑. ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืดเรียกว่าดาวประกายพรึก
๒. ในสวนสาธารณะมีคนมาออกกำลังกายกันอยู่ประปราย
๓. กระบะที่ลงรักแบบญี่ปุ่นและจีนเรียกว่าเครื่องกำมะลอ
๔. ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทุกครอบครัวต้องกระเบียดกระเสียน
เฉลยข้อ 4
เหตุผล ข้อ 4 คำว่า “กระเบียดกระเสียน” สะกดผิด ที่ถูกคือ “กระเบียดกระเสียร”
หมายถึง พยายามใช้อย่างจำกัดจำเขี่ย
ใช้ข้อความในพจนานุกรมต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ ๑๕-๑๖
๑๕. มีคำที่เป็นคำตั้งหรือแม่คำกี่คำ
๑. ๓ คำ ๒. ๔ คำ ๓. ๕ คำ ๔. ๖ คำ
เฉลยข้อ3
เหตุผล ข้อ 3 มีคำตั้ง หรือ แมค่ ำ 5 คำ คอื จวัก จอ1 จอ2 จ่อ 1 จ่อ 2 คำตั้ง หมายถึงคำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมาย ในการทำพจนานุกรม
๑๖. มีคำที่ระบุว่าใช้เฉพาะแห่งกี่คำ
๑. ๑ คำ ๒. ๒ คำ ๓. ๓ คำ ๔. ๔ คำ
เฉลยข้อ 2
เหตุผล ข้อ 2 มี 2 คำ คือ จ่อคิว (ปาก) และจ่อ2 (ถิ่น-อีสาน) เพราะ (ปาก) และ
(ถิ่น) ในพจนานุกรมระบุว่าเป็นคำบอกลักษณะของคำที่ใช้เฉพาะแห่ง
๑๗. คำภาษาอังกฤษในข้อใดใช้คำไทยแทนไม่ได้
๑. จินดาทำข้อสอบหลายวิชาจนรู้สึกเบลอร์ไปหมด
๒. จิตราเป็นดีไซเนอร์ประจำห้องเสื้อที่มีชื่อเสียง
๓. จินตนาไปหาหมอเพื่อใช้แสงเลเซอร์รักษาผิวหน้า
๔. จิตรลดาเป็นวิสัญญีแพทย์ระดับอินเตอร์ของโรงพยาบาลนี้
เฉลยข้อ 3
เหตุผล ข้อ 3 คำว่า “เลเซอร์” ไม่มีคำไทยใช้
ข้อ 1 คำว่า “เบลอร์” ใช้คำว่า งุนงง แทนได้
ข้อ 2 คำว่า “ดีไซเนอร์” ใช้คำว่า นักออกแบบ แทนได้
ข้อ 4 คำว่า “อินเตอร์” ใช้คำว่า สากล แทนได้
๑๘. ข้อใดเป็นคำศัพท์บัญญัติจากคำภาษาอังกฤษทุกคำ
๑. จุลทรรศน์ จุลินทรีย์ จุลกฐิน ๒. สังคม สังเคราะห์ สังโยค
๓. สมมาตร สมมุติฐาน สมเพช ๔. วิกฤตการณ์ วิจัย วิสัยทัศน์
เฉลยข้อ 4
เหตุผล ข้อ 4 คำว่า “วิกฤตการณ์” บัญญัติศัพท์มาจาก crisis “วิจัย” บัญญัติมา
จาก research “วิสัยทัศน์” บัญญัติศัพท์มาจาก vision
ข้อ 1 คำว่า “จุลกฐิน” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษ เป็นคำสมาส
ข้อ 2 คำว่า “สังโยค” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษเป็นคำที่มาจาก
ภาษาบาลี-สันสกฤต
ข้อ 3 คำว่า”สมเพช” ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาอังกฤษเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต
๑๙. ข้อใดไม่มีคำยืมภาษาบาลีสันสกฤต
ก. วันจะจรจากน้องสิบสองค่ำ
ข. พอจวนย่ำรุ่งเร่งออกจากท่า
ค. รำลึกถึงดวงจันทร์ครรไลลา
ง. พี่ตั้งตาแลแลตามแพราย
๑. ข้อ ก และ ข ๒. ข้อ ก และ ค
๓. ข้อ ข และ ง ๔. ข้อ ค และ ง
เฉลยข้อ 3
เหตุผล ข้อ 3 เพราะข้อ ข และ ง ทุกคำเป็นคำไทย
ข้อ 1 ข้อ ก มีคำว่า “จร” เป็นคำยืม
ข้อ 2 ข้อ ก มีคำว่า “จร” เป็นคำยืม ข้อ ค มีคำว่า “จันทร์” เป็นคำยืม
ข้อ 4 ข้อ ค มีคำว่า “จันทร์” เป็นคำยืม
๒๐. ข้อใดใช้คำลักษณนามไม่ถูกต้อง
๑. เขาสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของหน่วยงานได้ครบทุกข้อ
๒. นักวิชาการเสนอข้อคิดเห็นไว้ในบทสรุปของรายงานหลายประการ
๓. รัฐบาลมีปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขหลายเรื่อง
๔. คณะกรรมการกำลังพิจารณาคำขวัญที่ส่งเข้าประกวด ๕๐ บท
เฉลยข้อ 4
เหตุผล ข้อ 4 คำขวัญ ต้องใช้ลักษณะนามว่า “คำขวัญ”ตามข้อกำหนดของราชบัณฑิตยสถาน
ข้อ 1 เงื่อนไข ใช้ลักษณะนามว่า “ข้อ” ถูกต้อง
ข้อ 2 ข้อคิดเห็น ใช้ลักษณะนามว่า “ประการ” ถูกต้อง
ข้อ 3 ปัญหา ใช้ลักษณะนามว่า “เรื่อง” ถูกต้อง